วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ของเล่นพื้นบ้าน กังหันลม

วัสดุการผลิต :



1. กระดาษเหลือใช้
                        2. ลวด
                        3. กรรไกร,คัดเตอร์
                        4. ลูกปัด
                        5. ก้านลูกโป่ง
                        6. ดินสอ,ไม้บรรทัด

แหล่งข้อมูลได้มาจากใคร นายอาจหาญ สงวนหงษ์

วิธีเล่น

ให้เป่าตรงกลางกังหันลม กังหันลมจะหมุน หรืออาจจะเอาไปโต้ลมเล่นก็ได้

ขั้นตอนการผลิต :

ตัดกระดาษให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส  พับให้เป็นสามเหลี่ยมด้านตรงข้ามกันสองครั้ง จะได้รอยกากบาทดังรูป ตัดตามรอยพับขึ้นมา 3 ใน 4 ส่วน เจาะรูตรงกลาง และมุมกระดาษตามที่วงกลม


นำลวดทิ่มผ่านรูกลางขึ้นมา  ใส่ลูกปัดลงไป 1 ลูก


ค่อยๆจับปลายกระดาษทั้ง 4 ด้าน ที่เจาะรูจิ้มผ่านลวดตรงกลาง ต้องใช้นิ้วมากดตรงกลางด้านบนไว้ 

 ใส่หลอดที่ตัดมา ความยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ตามด้วยลูกปัด ดัดลวดลงมาเพื่อให้ไม่หลุด


ลวดที่เหลือด้านหลังใส่ลูกปัดก่อน ตามด้วยหลอดยาว  ดัดลวดตรงปลายส่วนที่เหลือขึ้นมา
พันเก็บให้สวยงาม ดัดลวดตรงคอกันหันลมให้งอลง

 จะได้กังหันลมตามรูป


วิธีการซ่อมแซมถ้าเสียหาย :  

1- ถ้ากระดาษที่ทำเป็นใบพัดของกังหันขาด ให้เปลี่ยนกระดาษใหม่ ทำตามวิธีเดิม

2- ถ้าลวดหลุดให้ทิ่มลวดเข้าไปที่เดิม


สถานที่ผลิต

หอสามสี

วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556

พิพิธภัณฑ์เมืองพิจิตร

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 3

พิพิธภัณฑ์เมืองพิจิตร

1. จากแหล่งการเรียนรู้ต้นแบบให้แบ่งประเภทของแหล่งการเรียนรู้ดังกล่าวว่าจัดอยู่ในประเภทใด
-  แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทอาคาร สถานที่
        2. จากแหล่งการเรียนรู้ตัวอย่าง ให้นิสิตประเมินแหล่งการเรียนรู้ในประเด็นดังนี้
                     2.1 อะไร คือ องค์ความรู้ของแหล่งการเรียนรู้นั้น ๆ ประวัติการให้บริการ/สาระเนื้อหา/ส่วนต่าง ๆ
พิพิธภัณฑ์เมืองพิจิตร 
ที่ตั้ง ศาลากลางจังหวัดพิจิตร  (หลังเดิม)  ถนนบุษบา  ตำบลในเมือง  อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร 
ผู้รับผิดชอบ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตร  ๐-๕๖๖๑-๒๖๗๕-๖
หน่วยงานสนับสนุน จังหวัดพิจิตร  มีแนวคิดจัดตั้งเมื่อปี ๒๕๔๔ ในสมัย นายประสาท พงษ์ศิวาภัย ผู้ว่าราชการจังหวัด ได้จัดสรรการใช้สอยในศาลากลางหลังเดิม ซึ่งมีหน่วยงานที่ขอใช้ในขณะนั้นคือ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดพิจิตรขอใช้อาคารชั้นล่าง (ทั้งหมด) จัดทำเป็นห้องสมุดอำเภอเมือง และห้องเรียนของวิทยาลัยชุมชน สำนักงานที่ดินขอใช้ชั้นบน ๑ ห้อง เพื่อจัดเก็บเอกสารของที่ดิน และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ขอใช้ชั้นบนเป็นพิพิธภัณฑ์เมืองพิจิตร 
ต่อมา  ในปี ๒๕๔๗ นายพรเทพ พิมลเสถียร ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร มอบหมายให้วัฒนธรรมจังหวัดพิจิตรโดยมีนายอมร กิตติกวางทอง หัวหน้าสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตร เสนอโครงการพิพิธภัณฑ์เมืองพิจิตร เพื่อใช้งบประมาณตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดแบบบูรณาการ (CEO) และตั้งงบประมาณอย่างต่อเนื่องถึงปีงบประมาณ ๒๕๕๐ นายพินิจ พิชยกัลป์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ในปัจจุบัน 
                ปี ๒๕๔๗  ได้รับงบประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ บาท จัดทำและปรับปรุงห้องจัดแสดง ๓ ห้อง ได้แก่ ห้องภูมิหลัง ภูมิเมือง คีตนาฏศิลป์ พร้อมป้ายพิพิธภัณฑ์เมืองพิจิตร 
                ปี ๒๕๔๘  ได้รับงบประมาณ ๕,๒๐๐,๐๐๐ บาท จัดทำห้องจัดแสดง ๓ ห้อง ได้แก่ ห้องภูมิปัญญา ห้องภูมิธรรมและห้องภูมิชีวิต ปรับปรุงอาคาร (ทาสี/ซ่อมหลังและระบบไฟฟ้า) และจัดทำสื่อมัลติมีเดีย 
                ปี ๒๕๔๙  ได้รับงบประมาณเพิ่มเติมในการจัดทำพิพิธภัณฑ์อีก ๕,๑๐๐,๐๐๐ บาท จัดทำห้องจัดแสดงเพิ่มเติมอีก ๕ ห้อง ได้แก่ ห้องบรรยายสรุป ห้องสินแผ่นดิน ห้องบุคคลสำคัญ ห้องภาษาและวรรณกรรม และห้องภูมิชน
2.2      ใคร คือ กลุ่มเป้าหมายหลัก/กลุ่มผู้เรียนหลัก
- ประชาชนทุกเพศ ทุกช่วงวัย
2.3      วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนแต่ละกลุ่ม
2.3.1 รูปแบบ / วิธีการ / เทคนิคการนำเสนอ
เป็นการจัดแสดงและรวบรวมข้อมูลตลอดจนการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิต ภูมิปัญญาไทย กลุ่มชนชาติพันธ์ต่างๆศาสนา ความเชื่อ วัฒนธรรมประเพณีของคนในจังหวัดพิจิตรตลอดจนโบราณสถาน แหล่งท่องเที่ยวและทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของจังหวัดพิจิตรโดยจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเรื่องราวของเมืองพิจิตร จำนวน 10ห้อง คือ
1. ห้องภูมิหลัง จัดแสดงเรื่องราวทางโบราณคดี ประวัติศาสตร์และความเป็นมาของเมืองพิจิตรในสมัยต่าง ๆ
2. ห้องภูมิเมือง จัดแสดงเรื่องราวของเมืองพิจิตรในปัจจุบันด้านต่าง ๆ
3. ห้องคีตนาฏศิลป์ จัดแสดงเกี่ยวกับเครื่องดนตรีไทย และเป็นห้องเรียนโรงเรียนวัฒนธรรม 
4. ห้องภูมิปัญญา จัดแสดงเกี่ยวกับกระบวนการผลิตภัณฑ์ และเครื่องมือจับสัตว์น้ำต่าง ๆ
5. ให้องภูมิชีวิต จัดแสดงเกี่ยวกับวิถีชีวิตที่อาศัยอยู่บริเวณริมน้ำจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
6. ห้องภูมิธรรม จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนา ความเชื่อ คติธรรมคำสอนเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณี ตลอดจนศาสนสถานที่สำคัญของจังหวัดพิจิตร
7. ห้องบุคคลสำคัญ จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติบุคคลสำคัญในอดีตทางด้านการปกครอง และผู้บริหารระดับสูงทางการเมืองและรูปปั้นจำลองของสมเด็จพระเจ้าเสือและพระยาโคตร-ตะบอง
8. ห้องสินแผ่นดิน จัดแสดงในเรื่องของแหล่งทรัพยากรของจังหวัด เช่น แหล่งแร่ยิปซั่ม และแหล่งแร่ทองคำ
9. ห้องภาษาและวรรณกรรม จัดแสดงเรื่องราวของภาษาถิ่นของชาวพิจิตร วรรณกรรมท้องถิ่น วรรณกรรมพื้นบ้าน วรรณกรรมที่เป็นตำนานเมืองพิจิตร
10. ห้องภูมิชน จัดแสดงเรื่องราวของกลุ่มชาติพันธ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในจังหวัดพิจิตร จำนวน 10 ชาติพันธุ์
                          2.3.2      วิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และกลุ่มผู้เรียน
                         - กลุ่มบุคคลทุกเพศ ทุกวัย
                          2.3.3      การเชื่อมโยงกับการศึกษา ในระบบ นอกระบบ ตามอัธยาศัย
                         - เป็นสถานที่ราชการจัดตั้งเพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้แก่ประชาชนทุกเพศ ทุกวัยทั้งที่อยู่ระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน
                2.4 กลุ่มเป้าหมายผู้เรียน เรียนรู้เพื่ออะไร
                      2.4.1 ความรู้ ความเข้าใจ
                      2.4.2 ทักษะ
                      2.4.3 อาชีพ
                      2.4.4 ความบันเทิง สันทนาการ

วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้

      แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ หมายถึง ศูนย์รวมขององค์ความรู้ทั้งที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ บุคคล สิ่งประดิษฐ์ วัตถุ อาคาร สถานที่ ตลอดจนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีอยู่กระจัดกระจาย และมากมายทั่วทุกหนทุกแห่ง อันเป็นขุมทรัพย์แห่งปัญญาที่แทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตของมนุษย์ เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ค้นพบใกล้ตัวจนไกลตัวสามารถเรียนรู้ได้อย่างไม่รู้จบ รวมทั้งสามารถบูรณาการเข้ากับระบบการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทบุคคล


หมายถึง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม มีผลงานได้รับการยกย่อง เป็นที่ยอมรับของสังคมซึ่งถือเป็นตัวอย่างต้นแบบกับบุคคลรุ่นหลังสืบไปในหลายสาขาอาชีพ

ตัวอย่างเช่น

อัลเบิร์ต  ไอน์สไตน์  (Albert Einstein)


Albert Einstein

          อัลเบิร์ต  ไอน์สไตน์  (Albert Einstein)ถือเป็นทรัพยากรแหล่งเรียนรู้ทางด้านกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์

เกิดวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ.1879 ที่เมืองอูล์ม (Ulm) ประเทศเยอรมนี (Germany)
เสียชีวิตวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ.1955 ที่เมืองนิวเจอร์ซี่ (New Jersey) ประเทศสหรัฐอเมริกา (United State of America) เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎี ชาวเยอรมันเชื้อสายยิวที่มีสัญชาติสวิสและอเมริกัน (ตามลำดับ) ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาเป็นผู้เสนอทฤษฎีสัมพัทธ์ภาพ และมีส่วนร่วมในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม สถิติกลศาสตร์ และจักรวาลวิทยา เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี พ.ศ. 2464 จากการอธิบายปรากฏการณ์โฟรโตอิเล็กทริก และจาก "การทำประโยชน์แก่ฟิสิกส์ทฤษฎี" ตัวไอน์สไตน์เองมีความระลึกถึงผลกระทบทางสังคม ซึ่งมีผลมาจากการค้นพบทางวิทยาศาสตร์อย่างลึกซึ้ง ในฐานะที่เขาได้เป็นปูชนียบุคคลแห่งความบรรลุทางปัญญา เขายังคงถูกยกย่องให้เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อวิทยาศาสตร์ที่สุดในยุคปัจจุบัน ทุกการสร้างสรรค์ของเขายังคงเป็นที่เคารพนับถือ ทั้งในความเชื่อในความสง่า ความงาม และความรู้แจ้งเห็นจริงในจักรวาล (คือแหล่งเสริมสร้างแรงบันดาลใจในวิทยาศาสตร์ให้แก่นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่) เป็นสูงสุด ความชาญฉลาดเชิงโครงสร้างของเขาแสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบของจักรวาล ซึ่งงานเหล่านี้ถูกนำเสนอผ่านผลงานและหลักปรัชญาของเขา ในทุกวันนี้ ไอน์สไตน์ยังคงเป็นที่รู้จักดีในฐานะนักวิทยาศาสตร์ที่โด่งดังที่สุด ทั้งในวงการวิทยาศาสตร์และนอกวงการ
ผลงาน  - ค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพ (Theory of Relativity)
              - ค้นพบทฤษฎีการแผ่รังสี (Photoelectric Effect Theory)
              - ได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ ในปี ค.ศ.1921

โยฮันน์ คาร์ล ฟรีดริช เกาส์


Johann Carl Friedrich Gauß


          โยฮันน์ คาร์ล ฟรีดริช เกาส์ ถือเป็นทรัพยากรแหล่งเรียนรู้ทางด้านกลุ่มสาระคณิตศาสตร์

โยฮันน์ คาร์ล ฟรีดริช เกาส์ (เยอรมัน: Johann Carl Friedrich Gauß) นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน เกิดเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2302 (ค.ศ. 1777) เสียชีวิต 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2398 (ค.ศ. 1855) เป็นหนึ่งในตำนานนักคณิตศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ (นักคณิตศาสตร์บางท่านกล่าวว่าสี่ผู้ยิ่งใหญ่ของวงการคณิตศาสตร์มี อาร์คิมิดีส นิวตัน เกาส์ และออยเลอร์) ได้รับฉายาว่า "เจ้าชายแห่งคณิตศาสตร์" (Prince of Mathematics) เนื่องจากอุทิศผลงานในทุก ๆ ด้านของคณิตศาสตร์ในยุคสมัยของเขา นอกจากนี้เกาส์ยังมีผลงานสำคัญทางด้านฟิสิกส์ โดยเฉพาะด้านดาราศาสตร์
ผลงาน   - ผลงานเกี่ยวกับทฤษฎีแม่เหล็กและไฟฟ้า                                                                              
               - วิธีกำลังสองต่ำสุด ความผิดพลาดในการวัด และการกระจายตัวแบบเกาส์
               - เรขาคณิตนอกแบบยุคลิด
               - ฟังก์ชันเชิงวงรี

แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภททรัพยากรธรรมชาติ


หมายถึง สภาพธรรมชาติที่มีอยู่แล้วในโลกและอวกาศ ซึ่งไม่ได้หมายถึงสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์

ตัวอย่างเช่น

ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและอนุรักษ์ป่าชายเลนเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จังหวัดชลบุรี



ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและอนุรักษ์ป่าชายเลนเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จังหวัดชลบุรี  ศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนแห่งนี้ อุดมไปด้วยพันธุ์ไม้ป่าชายเลนหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก ตะบูนดำ ตะบูนขาว แสมดำ แสมขาว โปรงแดง โปรงขาว ลำพูน และพืชอีกหลายชนิด นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและเพาะพันธุ์สัตว์น้ำอีกหลากหลายชนิด ได้แก่ กุ้งกุลาดำ กุ้งแชบ๊วย หอยนางรม หอยแครง ปูก้ามดาบ ปูแสม ปลานวลจันทร์ ปลากะพงขาว ปลาตีน และนกอีกนานาชนิด

ศูนย์อนุรักษ์พันธ์เต่าทะเล สัตหีบ



ศูนย์อนุรักษ์พันธ์เต่าทะเล สัตหีบ ถือเป็นทรัพยากรแหล่งเรียนรู้ทางด้านกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์
เพื่อป้องกันการสูญพันธุ์ของเต่าทะเลไทย ทางกองทัพเรือจึงได้จัดตั้งศูนย์อนุรักษ์พันธ์เต่าทะเลขึ้นมาในปี พ.ศ.2493 ซึ่งคอยดำเนินการเพาะไข่เต่าทะเลไปปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ โดยในแต่ละปีนั้นสามารถปล่อยเต่าคืนได้หลายพันตัวเลยทีเดียว โดยการนำเต่าทะเลมาเพาะนั้นเกิดจากการที่เจ้าหน้าที่ทหารเรือ คอยออกตรวจลาดตระเวนตามเกาะต่าง ๆ (รวมกว่า 16 หาดด้วยกัน) ว่ามีคนมาแอบเก็บไข่เต่าทะเลหรือไม่ และเพื่อหลีกเลี่ยงการลักลอบนี้ เจ้าหน้าที่จึงคอยรวบรวมไข่ที่พบเจอ มาเพาะฟักในพื้นที่ของทหารเรือเองด้วย ซึ่งหลังจากที่ลูกเต่าเกิดมาได้ระยะหนึ่ง ทางเจ้าหน้าที่ก็จะนำเต่าไปปล่อยคืนธรรมชาติต่อไป

แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทสื่อ


หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่ใช้เป็นช่องทางการสื่อสาร แยกได้ 2 ประเภท คือ

1. สื่อทางด้านกายภาพ ได้แก่ วัสดุ ลักษณะสิ่งพิมพ์ ฟิล์ม แผ่นภาพโปร่งใส เทปบันทึกภาพ เทปบันทึกเสียง แผ่น CD ชนิดเสียงและภาพ เป็นต้น อุปกรณ์ เป็นตัวช่องทางผ่านในลักษณะเครื่องฉาย เครื่องเสียงชนิดต่างๆ เป็นต้น
2. สื่อทางด้านวิธีการ ได้แก่ รูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ ทั้งการใช้เทคโนโลยีพื้นบ้าน และเทคโนโลยีระดับสูง ได้แก่ สื่อท้องถิ่น และ สื่อกิจกรรม

ตัวอย่างเช่น

เทป


เทป ถือเป็นทรัพยากรแหล่งเรียนรู้ทางด้านกลุ่มสาระภาษาไทย

 ตลับเทป (อังกฤษ: Compact Cassette) หรือมักเรียกโดยย่อว่า เทป มักหมายถึงเทปเสียงหรือเทปเพลง คือรูปแบบการบันทึกเสียงลงสื่อรูปแบบหนึ่งโดยใช้แถบแม่เหล็ก เทปมีขนาดเล็กสามารถพกพาได้อย่างสะดวก ใช้งานตั้งแต่บันทึกเสียงในบ้านจนถึงเก็บข้อมูลต่าง ๆ ในไมโครคอมพิวเตอร์ ในช่วงแรกระหว่างต้นทศวรรษ 1970 และปลายทศวรรษ 1990 ตลับเทปเป็นหนึ่งในสองอย่างที่มักใช้ในการบันทึกเสียงเพลง ควบคู่ไปกับแผ่นเสียง ซึ่งต่อมามักใช้เป็นซีดีแทน

นิทานอีสป


นิทานอีสป ถือเป็นทรัพยากรแหล่งเรียนรู้ทางด้านกลุ่มสาระภาษาไทย

อีสป (อังกฤษ: Aesop – ศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล หรือราวพุทธกาล?) นักเล่านิทานชาวกรีก ในตำนาน กรีก โบราณ นิทานที่กล่าวว่าเล่าโดย "อีสป" เชื่อกันว่าเป็นนิทานที่รวบรวมมาจากหลายแหล่ง นิทานอีสปได้รับความนิยมแพร่หลายเนื่องจากกวีชาวโรมันชื่อเพดรัสนำมาเล่าจนแพร่หลายในคริสต์ศตวรรษที่ 1 (ระหว่าง พ.ศ. 443-543) และต่อมา "ฌอง เดอ ลา ฟงแทน" กวีชาวฝรั่งเศสได้นำมาเรียบเรียงใหม่เป็นร้อยกรองที่ค่อนข้างเกินจริงแต่มีชีวิตชีวาเมื่อปี พ.ศ. 2211นิทานที่อีสปเล่า นิยมเรียกกันว่า นิทานอีสป เป็นนิทานสอนคนทั่วไปในด้านศีลธรรมโดยใช้สัตว์ต่างๆ เป็นตัวละคร เช่น เรื่องเด็กเลี้ยงแกะ ลาโง่ หมาจิ้งจอกกับองุ่น เป็นต้น สำหรับ ตัวอีสปเองนั้น เชื่อว่าเป็นบุคคลที่มีหน้าตาอัปลักษณ์ แต่เดิมเคยเป็นทาสมาก่อน แต่สามารถเป็นไทได้เพราะความสามารถในการพูดของตัวเอง เป็นบุคคลที่ไหวพริบปฏิภาณดีเยี่ยม เป็นคนพูดที่เก่งกาจคนหนึ่งในยุคนั้น

แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทวัตถุและอาคารสถานที่


หมายถึง วัตถุและอาคารสถานที่ ที่มีศักยภาพเป็นแหล่งความรู้ด้วยตัวของมันเอง สามารถสื่อความหมายโดยลำพังตัวเอง

ตัวอย่างเช่น

พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย



พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทยถือเป็นทรัพยากรแหล่งเรียนรู้ทางด้านกลุ่มสาระศิลปะองค์ความรู้ของแหล่งการเรียนรู้คือ  เป็นสถานที่สร้างและจัดแสดงหุ่นขี้ผึ้งไฟเบอร์กลาสที่มีความเหมือนจริงมากที่สุด เพื่อการ อนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีไทย อันจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าของเยาวชน

พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์


พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ถือเป็นทรัพยากรแหล่งเรียนรู้ทางด้านกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ และกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยีองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ถือได้ว่าเป็นสถานที่จัดแสดงนิทรรศการและกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ ที่เป็นการสื่อสารความรู้ให้กับผู้เข้าชม ให้เข้าใจสาระทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้โดยง่าย และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อเป็นการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้เสมือนจริงบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต


สารสนเทศที่มีการจัดระบบนาเสนอสาระข้อมูลในรูปแบบสื่อประสมโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาช่วยในการจัดการ เพื่อให้สามารถเข้าถึงได้อย่างต่อเนื่องได้ทุกที่ทุกเวลาและทุกคนในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

ตัวอย่างเช่น

Wikipedia


Wikipedia ถือเป็นทรัพยากรแหล่งเรียนรู้ทั้ง8กลุ่มสาระ

Wikipedia  คือ  สารานุกรม ซึงมีหลายภาษา สามารถเข้าไปอ่านได้ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตโดยไม่ต้องสมัครสมาชิกใดๆ อีกทั้งยังสามารถปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหา ซึ่งทำให้วิกิพีเดียกลายเป็นสารานุกรมที่ได้รับการแก้ไขรวบรวมและดูแลรักษาจากอาสาสมัครทั่วโลก ผ่านซอฟต์แวร์ ชื่อ มีเดียวิก ในปัจจุบันวิกิพีเดียมีทั้งหมดมากกว่า 250 ภาษา สารานุกรมวิกิพีเดียได้รับการยอมรับจากนักวิชาการและสื่อมวลชน เนื่องจากเนื้อหาเปิดเสรีให้สามารถนำไปใช้ได้ รวมถึงเปิดเสรีที่ให้ทุกคนแก้ไขรวมถึงนโยบายมุมมองที่เป็นกลางจากทุกฝ่ายที่เขียนในสารานุกรม ดังนั้นข้อมูลใน Wikipedia จึงค่อนข้างมีความน่าเชื่อถือสูง

ThaiLIS TDC



ThaiLIS TDC   ถือเป็นทรัพยากรแหล่งเรียนรู้ทั้ง8กลุ่มสาระ

TDC หรือ Thai Digital Collection เป็นโครงการหนึ่งของ ThaiLIS มีเป้าหมายเพื่อให้บริการสืบค้นฐานข้อมูลเอกสารฉบับเต็ม ซึ่งเป็นเอกสารฉบับเต็มของ วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัยของอาจารย์ รวบรวมจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศ นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร ในการเข้าใช้บริการนั้นจะต้องเข้าใช้งานจากคอมพิวเตอร์ ภายในห้องสมุดสมาชิก ดูรายละเอียดห้องสมุดสมาชิก ได้จากทางเลือกมหาวิทยาลัย/สถาบัน  การดำเนินการในปัจจุบันได้ดำเนินการ migrate ข้อมูลจากระบบเดิม เข้าสู่ระบบใหม่เรียบร้อยแล้ว รวมทั้งได้มีการจัดอบรมการใช้งาน การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบให้กับสมาชิกใหม่ เช่น มหาวิทยาลัยเอกชน หน่วยงานอื่นๆ ที่มีจุดมุ่งหมายในการให้ความรู้และต้องการเผยแพร่ผลงานต่าง ๆ ให้สังคม เพื่อให้สังคมได้นำความรู้เหล่านี้ไปปรับใช้เพื่อเป็นการต่อยอดความรู้เดิม และพัฒนาประเทศต่อไป