วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556

พิพิธภัณฑ์เมืองพิจิตร

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 3

พิพิธภัณฑ์เมืองพิจิตร

1. จากแหล่งการเรียนรู้ต้นแบบให้แบ่งประเภทของแหล่งการเรียนรู้ดังกล่าวว่าจัดอยู่ในประเภทใด
-  แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทอาคาร สถานที่
        2. จากแหล่งการเรียนรู้ตัวอย่าง ให้นิสิตประเมินแหล่งการเรียนรู้ในประเด็นดังนี้
                     2.1 อะไร คือ องค์ความรู้ของแหล่งการเรียนรู้นั้น ๆ ประวัติการให้บริการ/สาระเนื้อหา/ส่วนต่าง ๆ
พิพิธภัณฑ์เมืองพิจิตร 
ที่ตั้ง ศาลากลางจังหวัดพิจิตร  (หลังเดิม)  ถนนบุษบา  ตำบลในเมือง  อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร 
ผู้รับผิดชอบ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตร  ๐-๕๖๖๑-๒๖๗๕-๖
หน่วยงานสนับสนุน จังหวัดพิจิตร  มีแนวคิดจัดตั้งเมื่อปี ๒๕๔๔ ในสมัย นายประสาท พงษ์ศิวาภัย ผู้ว่าราชการจังหวัด ได้จัดสรรการใช้สอยในศาลากลางหลังเดิม ซึ่งมีหน่วยงานที่ขอใช้ในขณะนั้นคือ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดพิจิตรขอใช้อาคารชั้นล่าง (ทั้งหมด) จัดทำเป็นห้องสมุดอำเภอเมือง และห้องเรียนของวิทยาลัยชุมชน สำนักงานที่ดินขอใช้ชั้นบน ๑ ห้อง เพื่อจัดเก็บเอกสารของที่ดิน และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ขอใช้ชั้นบนเป็นพิพิธภัณฑ์เมืองพิจิตร 
ต่อมา  ในปี ๒๕๔๗ นายพรเทพ พิมลเสถียร ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร มอบหมายให้วัฒนธรรมจังหวัดพิจิตรโดยมีนายอมร กิตติกวางทอง หัวหน้าสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตร เสนอโครงการพิพิธภัณฑ์เมืองพิจิตร เพื่อใช้งบประมาณตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดแบบบูรณาการ (CEO) และตั้งงบประมาณอย่างต่อเนื่องถึงปีงบประมาณ ๒๕๕๐ นายพินิจ พิชยกัลป์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ในปัจจุบัน 
                ปี ๒๕๔๗  ได้รับงบประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ บาท จัดทำและปรับปรุงห้องจัดแสดง ๓ ห้อง ได้แก่ ห้องภูมิหลัง ภูมิเมือง คีตนาฏศิลป์ พร้อมป้ายพิพิธภัณฑ์เมืองพิจิตร 
                ปี ๒๕๔๘  ได้รับงบประมาณ ๕,๒๐๐,๐๐๐ บาท จัดทำห้องจัดแสดง ๓ ห้อง ได้แก่ ห้องภูมิปัญญา ห้องภูมิธรรมและห้องภูมิชีวิต ปรับปรุงอาคาร (ทาสี/ซ่อมหลังและระบบไฟฟ้า) และจัดทำสื่อมัลติมีเดีย 
                ปี ๒๕๔๙  ได้รับงบประมาณเพิ่มเติมในการจัดทำพิพิธภัณฑ์อีก ๕,๑๐๐,๐๐๐ บาท จัดทำห้องจัดแสดงเพิ่มเติมอีก ๕ ห้อง ได้แก่ ห้องบรรยายสรุป ห้องสินแผ่นดิน ห้องบุคคลสำคัญ ห้องภาษาและวรรณกรรม และห้องภูมิชน
2.2      ใคร คือ กลุ่มเป้าหมายหลัก/กลุ่มผู้เรียนหลัก
- ประชาชนทุกเพศ ทุกช่วงวัย
2.3      วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนแต่ละกลุ่ม
2.3.1 รูปแบบ / วิธีการ / เทคนิคการนำเสนอ
เป็นการจัดแสดงและรวบรวมข้อมูลตลอดจนการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิต ภูมิปัญญาไทย กลุ่มชนชาติพันธ์ต่างๆศาสนา ความเชื่อ วัฒนธรรมประเพณีของคนในจังหวัดพิจิตรตลอดจนโบราณสถาน แหล่งท่องเที่ยวและทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของจังหวัดพิจิตรโดยจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเรื่องราวของเมืองพิจิตร จำนวน 10ห้อง คือ
1. ห้องภูมิหลัง จัดแสดงเรื่องราวทางโบราณคดี ประวัติศาสตร์และความเป็นมาของเมืองพิจิตรในสมัยต่าง ๆ
2. ห้องภูมิเมือง จัดแสดงเรื่องราวของเมืองพิจิตรในปัจจุบันด้านต่าง ๆ
3. ห้องคีตนาฏศิลป์ จัดแสดงเกี่ยวกับเครื่องดนตรีไทย และเป็นห้องเรียนโรงเรียนวัฒนธรรม 
4. ห้องภูมิปัญญา จัดแสดงเกี่ยวกับกระบวนการผลิตภัณฑ์ และเครื่องมือจับสัตว์น้ำต่าง ๆ
5. ให้องภูมิชีวิต จัดแสดงเกี่ยวกับวิถีชีวิตที่อาศัยอยู่บริเวณริมน้ำจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
6. ห้องภูมิธรรม จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนา ความเชื่อ คติธรรมคำสอนเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณี ตลอดจนศาสนสถานที่สำคัญของจังหวัดพิจิตร
7. ห้องบุคคลสำคัญ จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติบุคคลสำคัญในอดีตทางด้านการปกครอง และผู้บริหารระดับสูงทางการเมืองและรูปปั้นจำลองของสมเด็จพระเจ้าเสือและพระยาโคตร-ตะบอง
8. ห้องสินแผ่นดิน จัดแสดงในเรื่องของแหล่งทรัพยากรของจังหวัด เช่น แหล่งแร่ยิปซั่ม และแหล่งแร่ทองคำ
9. ห้องภาษาและวรรณกรรม จัดแสดงเรื่องราวของภาษาถิ่นของชาวพิจิตร วรรณกรรมท้องถิ่น วรรณกรรมพื้นบ้าน วรรณกรรมที่เป็นตำนานเมืองพิจิตร
10. ห้องภูมิชน จัดแสดงเรื่องราวของกลุ่มชาติพันธ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในจังหวัดพิจิตร จำนวน 10 ชาติพันธุ์
                          2.3.2      วิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และกลุ่มผู้เรียน
                         - กลุ่มบุคคลทุกเพศ ทุกวัย
                          2.3.3      การเชื่อมโยงกับการศึกษา ในระบบ นอกระบบ ตามอัธยาศัย
                         - เป็นสถานที่ราชการจัดตั้งเพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้แก่ประชาชนทุกเพศ ทุกวัยทั้งที่อยู่ระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน
                2.4 กลุ่มเป้าหมายผู้เรียน เรียนรู้เพื่ออะไร
                      2.4.1 ความรู้ ความเข้าใจ
                      2.4.2 ทักษะ
                      2.4.3 อาชีพ
                      2.4.4 ความบันเทิง สันทนาการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น