วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญาท้องถิ่น
การทำข้าวหลาม


ชื่อภูมิปัญญา

- ข้าวหลามแม่นิยม

ประเภทของภูมิปัญญา

- ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทสื่อท้องถิ่น

สถานที่ของการเก็บข้อมูล

- ตลาดหนองมน

องค์ความรู้ที่ได้

  ความเป็นมา
            ร้านของฝากแม่นิยมเป็นร้านที่มีมานานกว่า 50 ปี เป็นร้านของฝากที่ขึ้นชื่อในตลาดหนองมนเลยที่เดียว เพราะร้านนี้มีการทำข้าวหลามโดยใช้กากมะพร้าวในการเผาที่เป็นสูตรเฉพาะของทางร้าน ป้าๆลุงๆที่ร้านแม่นิยมจะตื่นมาเผาข้ามหลามกันตอนตี 4 ในทุกๆวัน ทำให้ข้าวหลามของแม่นิยมสดและใหม่อยู่ตลอด
  วิธีการทำข้าวหลาม 
- แช่ข้าวสำหรับทำข้าวหลามไว้ในตอนกลางคืน
- วันรุ่งขึ้นนำข้าวที่แช่ไว้มาปรุงให้ได้รสชาติ
- นำข้าวที่ปรุงแล้วมากรอกใส่กระบอกไม้ไผ่
- จากนั้นนำไปเผาด้วยกากมะพร้าว
- คอยหยอดกะทิและเผือกหรือถั่วดำบนหน้าของข้าวหลามขณะที่เผา
- รอจนสุกโดยใช้เวลาประมาณ 3 ชม.
- หลังจากเผาเสร็จ ข้าวหลามจะอยู่ได้ 3 วัน

กลุ่มสาระในการเรียนรู้

- สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

กลุ่มเป้าหมายในการเรียนรู้

- ประชาชนที่มีความสนใจและบุคคลทั่วไป

ภาพแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้






..................................................................................................................

แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งการเรียนรู้นอกห้องเรียนเป็นฐาน
สาระที่ ๔ การอาชีพ                                                                             เวลา  ๒  ชั่วโมง
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓ การแปรรูปผลิตภัณฑ์
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี                               ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
1. สาระสำคัญ
  การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเป็นแนวทางในงานอาชีพ เกิดประสบการณ์และเรียนรู้การเพิ่มมูลค่าให้กับทรัพยากรที่มีอยู่
2. ตัวชี้วัดช่วงชั้น
  มาตรฐาน ง ๔.๑ เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น มีประสบการณ์ เห็นแนวทางในงานอาชีพ ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ มีคุณธรรม และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
3. จุดประสงค์การเรียนรู้ (เขียนให้ครอบคลุม KPA)
           1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น
  2. นำความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเป็นแนวทางในงานอาชีพ
  3. เกิดการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง
4. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 
ด้านความรู้(K)
-ประเมินการถาม
-ตอบของนักเรียน
-ประเมินความรู้ที่ได้โดยตรวจสอบจากการสรุปองค์ความรู้ของนักเรียน
ด้านคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม(A)
-ประเมินพฤติกรรมของนักเรียนระหว่างการเรียนรู้
ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
-ประเมินทักษะจากการลงมือปฏิบัติจริง
5. สาระการเรียนรู้
  1.การใช้ประสบการณ์เพื่อเป็นแนวทางในงานอาชีพ
  2.การเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น
  3.ความรู้เรื่องการเพิ่มมูลค่าให้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น
6. แนวทางบูรณาการ
  ภาษาไทย    การฟัง การพูด การอ่านและการเขียนสรุปองค์ความรู้
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
   ขั้นที่ 1 นำเข้าสู่บทเรียน
  1.ครูแจกเอกสารประกอบการเรียนให้กับนักเรียน
  2.ครูและนักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนภูมิปัญญาท้องถิ่นของแต่ละคน
  ขั้นที่ 2 กิจกรรมการเรียนรู้
  3.ครูให้นักเรียนซักถามความรู้เรื่องการทำข้าวหลามจากแหล่งทรัพยากรประเภทบุคคลที่ไปศึกษา
  4. นักเรียนลงมือปฏิบัติตามกระบวนการผลิตข้าวหลามโดยอยู่ในการดูแลของคุณครูและผู้ใหญ่
   ขั้นที่ 3 สรุป
  5.นักเรียนสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาครั้งนี้
  6.คุณครูกล่าวสรุปและประเมินความรู้นักเรียน
8. กิจกรรมเสนอแนะ
                คุณครูให้นักเรียนศึกษาจากอินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นการให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นการฝึกทักษะการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองและศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นอื่นๆจากแหล่งทรัพยากรใกล้ตัว
9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
           1. ใบความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น
  2. สื่อท้องถิ่น
  3.ห้องสมุด
  4. อินเทอร์เน็ต
10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
  1. ความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้................................................................
   แนวทางการพัฒนา......................................................................................
  2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้..........................................................
   แนวทางแก้ไข......................................................................................
 3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน...........................................................................
   เหตุผล......................................................................................
 4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้...........................................................

ลงชื่อ                                                               ผู้สอน
                    /                          /               

วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งการเรียนรู้นอกห้องเรียนเป็นฐาน

แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งการเรียนรู้นอกห้องเรียนเป็นฐาน

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอวกาศ
สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ                                                             เวลา 4 ชั่วโมง
หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 เทคโนโลยีอวกาศ
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์                                                              ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
...................................................................................................................................................................
1. สาระสำคัญ
ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ถึงความหมายและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอวกาศ และประโยชน์ในการพัฒนาเทคโนโลยีในด้านการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ การสำรวจสภาพอากาศ และด้านอื่นๆอีกมากมาย
2. ตัวชี้วัดช่วงชั้น
Ÿ สืบค้นอภิปรายความก้าวหน้าและประโยชน์ของเทคโนโลยีอวกาศ (ว7.2 ป.6/1)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายของเทคโนโลยีอวกาศได้ (K)
2. การค้นหาและนำเสนอความหมายและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอวกาศได้ (P)
3. สนใจใฝ่เรียนรู้ ช่างสังเกต และมีความกระตือรือร้นในการเรียน (A)
4. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ด้านความรู้ (K)
          เทคโนโลยีอวกาศ หมายถึง การสำรวจสิ่งต่างๆที่อยู่ในโลกและนอกโลกของเรา
ด้านคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม (A)
          -ทักษะการสังเกต
          -ทักษะในการนำเสนอ
          -ทักษะการค้นคว้าการหาความรู้
ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
          -มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
          -ใฝ่เรียนรู้
5. สาระการเรียนรู้
Ÿ ดาราศาสตร์และอวกาศ
-     ความก้าวหน้าของจรวด ดาวเทียม และยานอวกาศ
-     ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอวกาศได้นำมาใช้ในการสำรวจข้อมูลของวัตถุ ท้องฟ้า ทำให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบสุริยะทั้งในและนอกระบบสุริยะเพิ่มขึ้นอีกมากมายและยังมีประโยชน์ในการพัฒนาเทคโนโลยีในด้านการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ การสื่อสาร การสำรวจสภาพอากาศ ด้านการแพทย์และด้านอื่นๆอีกมากมาย
6. แนวทางบูรณาการ
            ภาษาไทย
            -ฝึกทักษะการฟัง การสรุปและจับใจความสำคัญ
            -ทักษะการอ่าน สะกดคำ
            -ทักษะการเขียนตอบคำถามได้อย่างถูกต้อง
            วิทยาศาสตร์                                      
            -ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอวกาศ
            -ประโยชน์ของเทคโนโลยีอวกาศ
            การงานอาชีพและเทคโนโลยี                     
            -การนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์
            ภาษาต่างประเทศ                             
            -คำศัพท์เกี่ยวกับอวกาศ
            ศิลปะ                                                 
            -การวาดภาพ ระบายสี
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
   ขั้นที่ 1 นำเข้าสู่บทเรียน
                      1. ครูแจ้งตัวชี้วัดช่วงชั้นและจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนได้ทราบ
                      2. ครูนำเข้าสู่บทเรียนในเรื่องเทคโนโลยีอวกาศ โดยการถามคำถามว่าเทคโนโลยีอวกาศมีความหมายว่าอย่างไร
                      3. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ6คน
   ขั้นที่ 2 กิจกรรมการเรียนรู้
                      1. ครูอธิบายให้นักเรียนฟังเกี่ยวกับความหมายและความก้าวหน้าของเทคโนโลยี แล้วบอกวิธีการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ท้องฟ้าจำลองให้กับนักเรียน และให้ครูยกตัวอย่างให้นักเรียนฟัง
                      2. มอบหมายงานให้นักเรียนแต่ละกลุ่มไปสืบค้นหาข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ จดบันทึกลงใบงานของแต่ละบุคคลและช่วยกันออกแบบการนำเสนอผลจากการที่ไปได้สืบค้นเป็นรายกลุ่ม
                      3. พานักเรียนไปแหล่งการเรียนรู้สถานที่ ท้องฟ้าจำลอง
   ขั้นที่ 3 ฝึกฝนผู้เรียน
1. ครูให้นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของแต่ละบุคคลภายในกลุ่ม แล้วนำความคิดเห็นของแต่ละบุคคลมาสรุปเป็นใบงานกลุ่ม1ใบพร้อมออกมานำเสนอ
   ขั้นที่ 4 สรุป
                      1. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอความรู้ที่ได้ไปสืบค้นมา
                      2. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปผลจากการที่ไปสืบค้นว่าแต่ละกลุ่มมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
                      3. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับความหมายและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอวกาศให้ได้ตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้
   ขั้นที่ 5 ประเมิน
                      1. ครูประเมินการเรียนรู้ของนักเรียน ดังนี้ สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนขณะทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม สังเกตจากการตอบคำถามของนักเรียน ประเมินจากสิ่งที่นักเรียนได้ไปสืบค้นข้อมูล
8. กิจกรรมเสนอแนะ
                ครูให้นักเรียนวาดภาพและระบายสีเกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศในอนาคต
9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ใบงานสำหรับจดบันทึก
2. ศึกษานอกสถานที่ ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาท้องฟ้าจำลอง กรุงเทพมหานคร
10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
         1. ความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้                                                              
                 แนวทางการพัฒนา                                                                               
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้                                                         
       แนวทางแก้ไข                                                                                       
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน                                                                        
      เหตุผล                                                                                                    
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้                                                                      

ภาพแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทสถานที่

(ท้องฟ้าจำลอง กรุงเทพมหานคร)
 http://www.bts.co.th/customer/th/06-travel-family-05.aspx

                                                                   ลงชื่อ                                                               ผู้สอน
                    /                          /               

วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แหล่งการเรียนรู้ประเภทบุคคล


พลตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

พลตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

     พลตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้ รับการยกย่องจากยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษา วัฒนธรรม สังคมศาสตร์และสื่อสารมวลชน เนื่องในโอกาสครบรอบ ชาตกาล 100 ปี ในวันที่ 20 เมษายน 2554 นับเป็นคนไทยลำดับที่20 นับเป็นเกียรติประวัติแก่20 นับเป็นเกียรติประวัติแก่ประเทศไทยอย่างยิ่งอีกครั้งหนึ่ง หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช ผู้เป็นนักปราชญ์ นักการเมือง ศิลปิน และนักเขียน คนหนึ่งของไทย ไม่เกินไปเลยที่จะกล่าวว่าใน 100 ปี จึงจะมีคนอย่างอาจารย์หม่อมมาเกิดสักครั้ง 
     พ.ศ. 2454 วันที่ 20 เมษายน ในเรือที่ล่องอยู่กลางลำน้ำเจ้าพระยา ณ ตำบลบ้านม้า อำเภออินทบุรี จังหวัดสิงห์บุรีเด็กชายผู้หนึ่งได้ถือกำเนิดขึ้น ไม่เกินไปเลยที่จะกล่าวว่าใน 100 ปี จึงจะมีบุคคลเช่นหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช มาเกิดสักครั้ง 
     เด็กชาย คึกฤทธิ์  เป็นโอรสคนสุดท้อง ในบรรดาโอรส-ธิดา ทั้ง 6 คน ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ กับหม่อมแดง (บุนนาค) ได้รับพระราชทานนาม "คึกฤทธิ์"จากสมเด็จพระพันปีหลวง หรือ สมเด็จพระราชชนนี ของรัชกาลที่ 6 ด้วยความที่เมื่อนำมาเข้าเฝ้าตอนเกิดนั้น ทารกได้แสดงฤทธิ์ร้องไห้ ดิ้นซน สมกับชื่อ คึกฤทธิ์ นั้นเอง ท่านเป็นน้องชายแท้ ๆ ของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี จึงทำให้สื่อมวลชนยุคนั้น พากันเรียกทั้งคู่ว่า "หม่อมพี่ หม่อมน้อง" นอกจากนี้ท่านยังมีพี่สาวคือ ม.ร.ว.บุญรับ พินิจชนคดี (สมรสกับ พล.ต.อ.พระพินิจชนคดี หรือ พินิจ อินทรทูต) 
     ในปี พ.ศ.2479 หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช สมรสกับหม่อมราชวงศ์พักตร์พริ้ง (ทองใหญ่) ปราโมชธิดาของพลตรีหม่อมเจ้าทองทีฆายุ ทองใหญ่ และหม่อมลุมมิลา ทองใหญ่ มีบุตรธิดา 2 คน คือ หม่อมหลวงรองฤทธิ์ ปราโมช (ชาย) และหม่อมหลวงวิสุมิตรา ปราโมช  (หญิง)ต่อมาท่านได้แยกกันอยู่กับหม่อมราชวงศ์พักตร์พริ้งแต่ก็มิได้พบรักครั้งใหม่กับหญิงใดอีกเลย 
     ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช พักอยู่ที่บ้าน อันเป็นบ้านที่รู้จักกันดีในชื่อว่า "บ้านซอยสวนพลู"ในซอยพระพินิจ ซึ่งเป็นซอยย่อยอยู่ในซอยสวนพลู ถนนสาทรใต้ เขตสาทร ตลอดชีวิตของท่านนั้น โดดเด่นทั้งในบทบาทของนักปราชญ์ นักการเมือง ศิลปิน รวมทั้งนักเขียน 
การศึกษา
     สำหรับด้านการศึกษานั้น ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ได้รับการศึกษาชั้นต้น ที่โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย (วังหลัง) จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อ ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และเดินทางไปศึกษาต่อ ในประเทศอังกฤษ ที่โรงเรียนเทรนด์คอลเลจ (Trent College) จากนั้นได้สอบเข้าศึกษาวิชาปรัชญาเศรษฐศาสตร์และการเมือง (Philosophy, Politics and Economics - PPE) ที่ ควีนส์คอลเลจ (The Queen's College) มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ โดยสำเร็จปริญญาตรีเกียรตินิยม และและ 3 ปีต่อมา ก็ได้รับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเดียวกันนี้

ประวัติการทำงาน 

     ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เริ่มเข้ารับราชการครั้งเเรกที่กรมสรรพากร ต่อมาเป็นเลขานุการที่ปรึกษากระทรวงการคลัง และเข้าทำงานเป็นผู้จัดการธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาลำปาง  เคยเป็นทหารออกศึกเมื่อเกิดสงครามอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา ได้เข้ารับราชการทหารและได้รับยศ "นายสิบตรี" ต่อจากเมื่อนั้นรัฐบาลได้ตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยขึ้น ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เข้าก็เข้าทำงานเป็นหัวหน้าฝ่ายสำนักผู้ว่าการและดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายออกบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย และต่อมาเป็นประธานกรรมการ ธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) กระทั่งในปี พ.ศ.2531 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เลื่อนยศเป็น "พลตรี"(ทหารราชองครักษ์พิเศษ) และกับการเลื่อนยศจากพลตรี เป็น พลเอก ในยุคของ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 17 
     ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ยังได้เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยทั้ง มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง(มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)  ระหว่างปี พ.ศ.2485 - พ.ศ. 2490 โดยสอน วิชาการธนาคาร ในชั้นปริญญาโททางเศรษฐศาสตร์ และวิชาการธนาคารของการศึกษาเพื่อรับประกาศนียบัตรชั้นสูงทางการบัญชี รวมทั้งสอนที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะพาณิชย์และการบัญชีในปี พ.ศ.2485 - พ.ศ.2495 และสอนในคณะรัฐศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2491 - พ.ศ. 2494 
บทบาททางการเมือง 
     ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เริ่มเข้าสู่เส้นทางการเมือง โดยเป็นผู้ก่อตั้ง "พรรคก้าวหน้า"เมื่อ พ.ศ. 2488 ต่อมาได้ยุบรวมกับพรรคประชาธิปัตย์ในปีถัดมา ต่อมาก่อตั้งหนังสือพิมพ์สยามรัฐ เมื่อ พ.ศ. 2493 และได้ริเริ่มจัดตั้ง "พรรคกิจสังคม"  เมื่อ พ.ศ. 2517 และในการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ.2518 ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร ในเขตพระนคร ผลการเลือกตั้งครั้งนี้พรรคที่ได้รับเสียงข้างมากในสภาคือ  พรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่สามารถดำเนินการจัดตั้งรัฐบาล เพื่อเข้าบริหารประเทศได้ตลอดรอดฝั่ง จึงเป็นผลให้ พรรคเสียงข้างน้อยอย่างพรรคกิจสังคม โดยการนำของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพียง 18 คน ได้มีโอกาสจัดตั้งรัฐบาลผสมขึ้น และท่านก็ได้ก้าวขึ้นเป็น นายกรัฐมนตรี คนที่ 13 ของประเทศไทยเมื่อ พ.ศ.2518  ในขณะที่บริหารประเทศนั้น ผลงานอันเป็นที่รู้จักกันดีนั้นก็คือ เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่ได้ดำเนินการเปิดสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเดินทางไปเยือนกรุงปักกิ่งเมื่อปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) ตามนโยบายการอยู่ร่วมกันอย่างปกติ และเป็นมิตรกับทุกประเทศที่มีเจตนาดีต่อประเทศไทยโดยไม่คำนึงถึง ความแตกต่างทางอุดมการณ์ทางการเมืองและนโยบาย      ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ถือเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรก และเป็นเชื้อพระวงศ์ในบรมราชสกุลจักรีวงศ์คนแรก ที่เดินทางไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้การปกครองของลัทธิคอมมิวนิสต์ 
     และอีกผลงานอันนโยบายที่เป็นที่รู้จดจำในสมัยของท่านนั้นก็คือ  "นโยบายเงินผัน" เพื่อปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ และสร้างงานในชนบท อันเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในสมัยนั้น แต่ด้วยความที่เป็นรัฐบาลผสมหลายพรรค จึงทำให้รัฐบาล ขาดเสถียรภาพ เมื่อต้องเผชิญกับหลากปัญหาทางการเมืองมากเข้า ท่านจึงได้ตัดสินใจ ยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ.2519 รวมระยะเวลาที่บริหารประเทศประมาณ 9 เดือนเศษในบั้นปลายชีวิต ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ก็ได้ลาออกจากตำแหน่ง หัวหน้าพรรคกิจสังคม ในปี พ.ศ. 2528 พร้อมทั้งปิดฉากของการนักการเมืองลง แต่ก็ยังมีการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองอยู่เรื่อยมาทั้งจากการให้สัมภาษณ์ และเขียนบทความ ลงในคอลัมน์ "ซอยสวนพลู" นับว่าท่านเป็นผู้มีบุคลิกอันโดดเด่นด้วยการใช้วาทศิลป์อันยอมเยี่ยม ที่มีความร้อนแรง แสบสรรและแฝงด้วยอารมณ์ขันที่มีรสนิยม หลายครั้งที่คำให้สัมภาษณ์และบทความในคอลัมน์ของท่านได้เป็นประเด็นร้อนในสังคมทันที ยืนยันได้จาก การมีหนังสือและบทความมากมายที่รวบรวมเอาเกร็ดคำพูดและการแสดงออกของท่านถ่ายทอดออกมา

ผลงานประพันธ์  

     อีกบทบาทสำคัญของม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช นั้นก็คือ เป็นผู้มีความสามารถในทางวรรณกรรมอย่างที่หาตัวจับได้อย่าง ต้องยอมรับว่าผลงานของท่านเป็นแม่แบบและเแรงบันดาลใจให้ใครหลายๆคน โดยเฉพาะการสร้างแม่พลอย ในอมตะนิยายผลงานชิ้นยอด "สี่แผ่นดิน"  นอกจากนี้ท่านยังมีผลงานอีกมากมายทั้งนิยาย เรื่องแปล เรื่องสั้น บทความ บทวิจารณ์ เช่น สี่แผ่นดิน,ไผ่แดง, กาเหว่าที่บางเพลง, ซูสีไทเฮา,สามก๊กฉบับนายทุน, ราโชมอน, มอม, เพื่อนนอน, หลายชีวิต, ฉากญี่ปุ่น, ยิว, เจ้าโลก, ฝรั่งศักดินา, สัพเพเหระคดี, โครงกระดูกในตู้, พม่าเสียเมือง, ถกเขมร ฯลฯ และความสามารถที่ต้องยอมรับเช่นนี้ ท่านจึงเป็นผู้ที่สมควรได้รับการยกย่องเป็น "ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์" คนแรกของประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ.2528และในบทบาทของนักหนังสือพิมพ์ท่านได้ร่วมกับคุณ สละ ลิขิตกุล บุกเบิกก่อตั้ง"หนังสือพิมพ์สยามรัฐ" ขึ้นมา  

โขนธรรมศาสตร์ 

     และอีกหนึ่งศิลปะที่ลืมเสียมิได้ ศ. พลตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม"อาจารย์หม่อม" ของศิลปะทางโขนละคร ท่านนับว่าเป็นผู้ที่มีความสำคัญต่อโขนธรรมศาสตร์ในฐานะผู้ก่อตั้ง และผู้อุปถัมภ์ ชาวโขนธรรมศาสตร์นั้นกล่าวกันว่า "ถ้าไม่มีอาจารย์คึกฤทธิ์ ก็คงไม่มีโขนธรรมศาสตร์เกิดขึ้น" โขนธรรมศาสตร์ในวันที่ไร้ท่านอาจารย์คึกฤทธิ์ ยังคงสืบสานเจตนารมณ์ของท่านไว้ และชาวโขนธรรมศาสตร์ก็ยังได้ระลึกถึงท่านในการแสดงทุกครั้งของโขนธรรมศาสตร์จะมีใครสักกี่คนที่ตลอดชั่วชีวิตได้สร้างสิ่งที่ควรบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ได้อย่าง พลตรี ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ในวาระสุดท้ายของชีวิตท่านได้พักอยู่ที่ "บ้านซอยสวนพลู" บ้านเรือนไทยไม้สัก ในซอยพระพินิจ ถนนสาทรใต้  และถึงแก่อสัญกรรม ด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2538 ณ โรงพยาบาลสมิติเวช รวมอายุได้ 84 ปีเศษ โดยในปี พ.ศ. 2554 ท่านก็จะมีอายุครบ 100 ปีชาตะกาล