วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญาท้องถิ่น
การทำข้าวหลาม


ชื่อภูมิปัญญา

- ข้าวหลามแม่นิยม

ประเภทของภูมิปัญญา

- ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทสื่อท้องถิ่น

สถานที่ของการเก็บข้อมูล

- ตลาดหนองมน

องค์ความรู้ที่ได้

  ความเป็นมา
            ร้านของฝากแม่นิยมเป็นร้านที่มีมานานกว่า 50 ปี เป็นร้านของฝากที่ขึ้นชื่อในตลาดหนองมนเลยที่เดียว เพราะร้านนี้มีการทำข้าวหลามโดยใช้กากมะพร้าวในการเผาที่เป็นสูตรเฉพาะของทางร้าน ป้าๆลุงๆที่ร้านแม่นิยมจะตื่นมาเผาข้ามหลามกันตอนตี 4 ในทุกๆวัน ทำให้ข้าวหลามของแม่นิยมสดและใหม่อยู่ตลอด
  วิธีการทำข้าวหลาม 
- แช่ข้าวสำหรับทำข้าวหลามไว้ในตอนกลางคืน
- วันรุ่งขึ้นนำข้าวที่แช่ไว้มาปรุงให้ได้รสชาติ
- นำข้าวที่ปรุงแล้วมากรอกใส่กระบอกไม้ไผ่
- จากนั้นนำไปเผาด้วยกากมะพร้าว
- คอยหยอดกะทิและเผือกหรือถั่วดำบนหน้าของข้าวหลามขณะที่เผา
- รอจนสุกโดยใช้เวลาประมาณ 3 ชม.
- หลังจากเผาเสร็จ ข้าวหลามจะอยู่ได้ 3 วัน

กลุ่มสาระในการเรียนรู้

- สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

กลุ่มเป้าหมายในการเรียนรู้

- ประชาชนที่มีความสนใจและบุคคลทั่วไป

ภาพแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้






..................................................................................................................

แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งการเรียนรู้นอกห้องเรียนเป็นฐาน
สาระที่ ๔ การอาชีพ                                                                             เวลา  ๒  ชั่วโมง
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓ การแปรรูปผลิตภัณฑ์
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี                               ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
1. สาระสำคัญ
  การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเป็นแนวทางในงานอาชีพ เกิดประสบการณ์และเรียนรู้การเพิ่มมูลค่าให้กับทรัพยากรที่มีอยู่
2. ตัวชี้วัดช่วงชั้น
  มาตรฐาน ง ๔.๑ เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น มีประสบการณ์ เห็นแนวทางในงานอาชีพ ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ มีคุณธรรม และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
3. จุดประสงค์การเรียนรู้ (เขียนให้ครอบคลุม KPA)
           1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น
  2. นำความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเป็นแนวทางในงานอาชีพ
  3. เกิดการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง
4. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 
ด้านความรู้(K)
-ประเมินการถาม
-ตอบของนักเรียน
-ประเมินความรู้ที่ได้โดยตรวจสอบจากการสรุปองค์ความรู้ของนักเรียน
ด้านคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม(A)
-ประเมินพฤติกรรมของนักเรียนระหว่างการเรียนรู้
ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
-ประเมินทักษะจากการลงมือปฏิบัติจริง
5. สาระการเรียนรู้
  1.การใช้ประสบการณ์เพื่อเป็นแนวทางในงานอาชีพ
  2.การเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น
  3.ความรู้เรื่องการเพิ่มมูลค่าให้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น
6. แนวทางบูรณาการ
  ภาษาไทย    การฟัง การพูด การอ่านและการเขียนสรุปองค์ความรู้
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
   ขั้นที่ 1 นำเข้าสู่บทเรียน
  1.ครูแจกเอกสารประกอบการเรียนให้กับนักเรียน
  2.ครูและนักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนภูมิปัญญาท้องถิ่นของแต่ละคน
  ขั้นที่ 2 กิจกรรมการเรียนรู้
  3.ครูให้นักเรียนซักถามความรู้เรื่องการทำข้าวหลามจากแหล่งทรัพยากรประเภทบุคคลที่ไปศึกษา
  4. นักเรียนลงมือปฏิบัติตามกระบวนการผลิตข้าวหลามโดยอยู่ในการดูแลของคุณครูและผู้ใหญ่
   ขั้นที่ 3 สรุป
  5.นักเรียนสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาครั้งนี้
  6.คุณครูกล่าวสรุปและประเมินความรู้นักเรียน
8. กิจกรรมเสนอแนะ
                คุณครูให้นักเรียนศึกษาจากอินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นการให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นการฝึกทักษะการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองและศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นอื่นๆจากแหล่งทรัพยากรใกล้ตัว
9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
           1. ใบความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น
  2. สื่อท้องถิ่น
  3.ห้องสมุด
  4. อินเทอร์เน็ต
10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
  1. ความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้................................................................
   แนวทางการพัฒนา......................................................................................
  2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้..........................................................
   แนวทางแก้ไข......................................................................................
 3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน...........................................................................
   เหตุผล......................................................................................
 4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้...........................................................

ลงชื่อ                                                               ผู้สอน
                    /                          /               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น